-->

หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
บริการ
ข่าวและบทความ
ภาพบรรยากาศ
ติดต่อ
ภาษา
เข้าสู่ระบบ

หน้าหลัก บทความสุขภาพ

#SIHNEW เตือนภัย "ไข้หูดับ"ระบาด 4 จังหวัด โซนอีสานใต้ จากกินหมูดิบ สุกไม่ทั่วถึง ซึ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรีย

Visited +170

2025/06/25 04:06:58

#SIHNEW เตือนภัย "ไข้หูดับ" ระบาด 4 จังหวัด โซนอีสานใต้ จากกินหมูดิบ สุกไม่ทั่วถึง ซึ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรีย
.
นพ.ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จ.นครราชสีมา กล่าวว่า โรคไข้หูดับ มีหมูเป็นพาหะนำโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “สเตรปโตคอกคัส ซูอิส” อยู่ในทางเดินหายใจของหมูและเลือดของหมูที่กำลังป่วยติดต่อได้ 2 ทาง คือ 1. การบริโภคเนื้อหมูและเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ และ 2. ทางการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ ทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค เชื้อจะเข้าทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกาย หรือทางเยื่อบุตา หลังได้รับเชื้อประมาณ 1-14 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง
ตอนนี้ “ไข้หูดับ” หรือ “ไข้หมูดิบ” กำลังระบาดใน 4 จังหวัดอีสานใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 19 มิถุนายน 2568 พบผู้ป่วย 89 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสมแล้ว 5 ราย จ.นครราชสีมา มีผู้ป่วยมากสุด 47 ราย มีผู้เสียชีวิต 3 ราย รองลงมา คือ จ.ชัยภูมิ มีผู้ป่วย 17 ราย จ.สุรินทร์ มีผู้ป่วย 13 ราย และ จ.บุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 12 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยสูงสุด คือ 65 ปีขึ้นไป
วิธีป้องกันไข้หูดับ คือ รับประทานเนื้อหมู หรือเลือดหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น คือ ต้องผ่านความร้อนอย่างน้อย 60-70 องศาเซลเซียส ในเวลา 10 นาที
สำหรับคนที่ชอบอาหารปิ้งย่าง ควรใช้อุปกรณ์ในการคีบเนื้อหมูดิบ และเนื้อหมูสุก แยกจากกัน และขอให้ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด”ไม่ควรรับประทานหมูดิบ ร่วมกับการดื่มสุรา เลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ เนื้อหมูไม่มีกลิ่นคาว สีไม่คล้ำ
ไม่สัมผัสเนื้อหมูและเลือดดิบด้วยมือเปล่า โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสหมูทุกครั้ง
หากมีอาการป่วย มีไข้สูง ปวดศีรษะ ร่วมกับประวัติเสี่ยง ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที
.
วิธีป้องกันโรคไข้หูดับ
.
บริโภคอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนอย่างน้อย 60-70 องศาเซลเซียส ในเวลา 10 นาทีเป็นอย่างต่ำ หากรับประทานอาหารปิ้งย่าง แยกอุปกรณ์ที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุกและดิบออกจากกัน ไม่ใช้เขียงของดิบและของสุก ผัก หรือผลไม้ร่วมกัน
.
เลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดสดหรือห้างสรรพสินค้า ที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ
.
ไม่สัมผัสเนื้อหมูและเลือดดิบด้วยมือเปล่า โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ขณะทำงานควรสวมรองเท้าบูทยาง และสวมถุงมือ หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง
.
หากพบว่ามีอาการป่วย สงสัยโรคไข้หูดับโดยมีไข้สูง ปวดศีรษะ ร่วมกับประวัติเสี่ยง ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที แจ้งประวัติการกินหมูดิบและสัมผัสเนื้อหมูดิบให้ทราบ ทั้งนี้หากมาพบแพทย์และวินิจฉัยได้เร็ว ได้รับยาปฏิชีวนะเร็ว จะช่วยลดอัตราการเกิดหูหนวกและการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่หากติดเชื้อจะมีอาการป่วยรุนแรงเนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ได้แก่ ผู้ติดสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น
.
ขอบคุณข้อมูลจาก - สสส. (สำนักงานทองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)
Share -

ติดต่อเรา

โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ เลขที่ 272 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140

02-874-6766 (ถึง) 70
FAX : 02-427-4070
แผนที่และการเดินทาง

              

โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์

เลขที่ 272 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140

   02-874-6766 (ถึง) 70

                   

ฝากข้อความติดต่อกลับ

ฝากข้อความติดต่อกลับ

-->

กดติดตามรับข่าวสาร

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. www.suksawatinterhospital.com Version 1.0. Designed by webbeedev.com +90,212 Times.