หน้าหลัก บทความสุขภาพ Snoring
Visited +246
2025/03/11 08:03:08
นอนกรน เรื่องเล็กๆ..แต่ แฝงปัญหาใหญ่ . นอนกรนเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน มีการหย่อนตัวลง ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ เมื่อมีลมหายใจ ผ่านก็จะทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวเกิดการสั่นสะเทือนและกระพือจนทำให้เกิดเป็นเสียงกรน ซึ่งการนอนกรนเป็นหนึ่งในอาการสำคัญของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) . ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงนอนกรน • คนที่ป่วยเป็นภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก โครงสร้างของจมูกผิดปกติ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เป็นต้น กลุ่มนี้ทางเดินหายใจจะถูกปิดกั้น • คนที่หลับลึก ดื่มแอลกอฮอล์หนัก ใช้ยานอนหลับ คนสูงอายุกลุ่มนี้ลิ้นและกล้ามเนื้อที่ลำคอจะหย่อนคลายตัวถอยกลับไป อุดกั้นทางเดินหายใจ • คนอ้วน น้ำหนักมาก คอหนา ขนาดรอบคอมากกว่า 43เซนติเมตร ต่อมทอนซิลหรืออะดีนอยด์โต ทำให้เนื้อเยื่อลำคอมีขนาดใหญ่ • คนที่มีเพดานอ่อนหย่อนหรือลิ้นไก่ยาว ส่งผลให้ทางเดินหายใจหลังจมูกและบริเวณลำคอตีบแคบลง เมื่อเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นหรือชน จึงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ . การรักษาทั่วไป 1. ลดน้ำหนักอย่างน้อย 10% ของน้ำหนักร่างกาย ช่วยให้หลับดีขึ้น 2. เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ภายใน 4 ชั่วโมงก่อนนอนหรือใช้ยานอนหลับเพราะจะกดการหายใจ ทำให้อาการแย่ลง 3. นอนตะแคง บางคนหยุดหายใจขณะหลับในท่านอนหงาย หนุนหมอนข้างเอาไว้ด้านหลังช่วยได้ . การรักษาเฉพาะ 1. ใช้เครื่องอัดอากาศอย่างบวก (Positive Airway Pressure; PAP) ได้ผลดีที่สุด มีหน้ากากสวมทับบริเวณจมูกในขณะหลับ 3. Oral Appliance หรือทันตอุปกรณ์ที่เลื่อนคางมาด้านหน้าเหมาะสำหรับผู้มีระดับอาการรุนแรงน้อยถึงปานกลาง 2. การผ่าตัดทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์ขนาดใหญ่ (มักผ่าตัดในเด็ก) การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่ เพดานอ่อน และช่องคอ จะช่วยลดอาการคัดแน่นจมูกและช่วยเรื่องการนอนกรนได้ แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นได้ . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สสส. สำนักงานทองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
นัดหมายแพทย์
ค้นหาแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
นโยบายการใช้คุกกี้
นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายกล้องวงจรปิด CCTV